การแก้ไขปัญหาของขากรรไกรด้วยการผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน
การวางแผนการรักษาล่วงหน้า เป็นสิ่งสำคัญและเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จนอกเหนือจากขั้นตอนการรักษาและผ่าตัด ทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยและเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย โดยพิจารณาจากรูปภาพ แบบจำลองฟันและผลเอ๊กซเรย์
สำหรับกรณีที่ผู้เข้ารับบริการมีคางที่ยื่นผิดปกตินั้น บางครั้งการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกรอาจมีความจำเป็นเพื่อช่วยปรับตำแหน่งให้มีการสบฟันที่ถูกต้อง รวมไปถึงสามารถช่วยแก้ไขโครงหน้าให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น โดยศัลยแพทย์จะทำการเลื่อนขากรรไกรล่างให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งในการรักษาอาจทำร่วมกับการปลูกถ่ายกระดูกขากรรไกร หรือการปรับแต่งกระดูกคางในบางกรณี
คุณสมบัติของการรักษาด้วยศัลยกรรมช่องปาก
- ช่วยแก้ไขปัญหารูปหน้าและการสบฟันที่ผิดปกติ
- ช่วยปรับปรุงการสบฟันและการเคี้ยวให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ช่วยให้ริมฝีปากสามารถหุบได้สนิทในบางกรณีที่มีปัญหาเรื่องนี้
- ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถออกเสียงได้ดีขึ้น
- ช่วยป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ (TMJ)
- ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ขั้นตอนการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกร (Orthognatic Treatment)
- ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการวางแผนการรักษา
- ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมเด็กและทันตกรรมจัดฟัน จะทำการวางแผนการรักษาร่วมกันกับทันตแพทย์ผู้ที่จะทำการผ่าตัด
- หลังจากการตรวจวินิจฉัยทันตแพทย์ทั้งหมดจะทำช่วยลงความคิดเห็นเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาก่อนที่จะทำการวางแผนการรักษา
- กรณีผู้ป่วยต้องเข้ารับการจัดฟันก่อนการผ่าตัด (Pre-surgical orthodontics)
- สำหรับกรณีที่ทันตแพทย์ลงความเห็นว่าผู้ป่วยควรได้รับการจัดฟันให้มีความเหมาะสมดีก่อนเข้ารับการผ่าตัดขากรรไกร
- การผ่าตัดขากรรไกร
- กรณีผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดก่อนการจัดฟัน (Post-surgical orthodontics)
- สำหรับผู้ป่วยที่ทันตแพทย์ลงความเห็นว่าควรได้รับการจัดฟันเพื่อแก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติหลังการผ่าตัดให้มีความถูกต้อง
โดยทั่วไปก่อนการเข้ารับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกรนั้น ผู้เข้ารับบริการจะต้องได้รับการจัดฟันมาก่อนแล้วเพื่อให้ได้ฟันที่มีการเรียงตัวและการสบฟันที่เหมาะสม เนื่องจากจะช่วยทำให้ผู้เข้ารับบริการสามารถมีสบฟันที่ถูกต้องหลังเข้ารับการผ่าตัด และการจัดฟันหลังการผ่าตัดยังคงมีความจำเป็นในทุกกรณีเพื่อแก้ไขการสบฟันที่อาจยังไม่ถูกต้อง สมบูรณ์ หรือเพื่อคงสภาพฟันหลังการผ่าตัด
การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกรนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะต้องรอให้ผู้เข้ารับบริการมีฟันแท้ขึ้นมาจนครบเสียก่อน นอกจากในบางกรณีเท่านั้นที่มีความจำเป็นพิเศษ เช่นกรณีอุบัติเหตุ ศัลยแพทย์จึงจะทำการผ่าตัดให้ทันที และการผ่าตัดจัดแต่งขากรรไกรในผู้ใหญ่นั้น บางครั้งยังสามารถเป็นศัลยกรรมเพื่อความงามโดยทำร่วมกับการผ่าตัดเนื่อเยื่อบางส่วนเพื่อให้ได้รูปหน้าที่มีความสวยงามมากขึ้นได้อีกด้วย
อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการรักษา
ผู้ป่วยจะใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 1 – 3 วันหลังการผ่าตัด ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ภายในสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีอาการบวมหรือฟกช้ำบนใบหน้าซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัดและผู้ป่วยยังจำเป็นต้องได้รับการจำกัดและควบคุมด้านกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ เช่น การออกกำลังกาย ภายใน 1 เดือนแรกหลังการผ่าตัด